แบบเสนอขออนุมัติโครงการ
วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙
แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อโครงการ โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR
ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ถึง วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐
สถานที่ดำเนินการ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ
ประมาณการค่าใช้จ่าย ๓,๐๐๐ บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. นายศราวุธ เกิดนาแซง ระดับชั้น ปวส.๒ กลุ่ม อี.๑
๒. นางสาวสุกัญญา หิงขุนทด ระดับชั้น ปวส.๒ กลุ่ม อี.๑
๑. ชื่อโครงการ โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR
๒. ผู้รับผิดชอบโครงการ
๒.๑ นายศราวุธ เกิดนาแซง ระดับชั้น ปวส.๒ กลุ่ม อี.๑
๒.๒ นางสาวสุกัญญา หิงขุนทด ระดับชั้น ปวส.๒ กลุ่ม อี.๑
๓. ที่ปรึกษาโครงการ
๓.๑ นายประภาส สุวรรณเพชร
๓.๒ นายศราวุธ ดีแสง
๔. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการใช้ชีวิตประจำวันของเราล้วนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาท ในการอำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้าน และหน้าที่ในการซ่อมแซมอุปกรณ์เหล่านี้เมื่อเกิดการชำรุด ก็จะเป็นหน้าที่ของช่างอิเล็กทรอนิกส์ ในการซ่อมจะต้องใช้การบัดกรี เพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสียหาย และต้องมีการป้อนไฟทดสอบวงจร ปัญหาในการซ่อมแซมจะมีควันตะกั่วซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน และอาจหยิบจับอุปกรณ์ไม่สะดวก
กลุ่มของกระผมจึงได้ศึกษาและแก้ไขปัญหาโดยได้คิดค้นและสร้างโต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR ที่มีอุปกรณ์ช่วยในการดูดจับและกรองควันจากการบัดกรี มีแหล่งจ่ายไฟ Power supply มีเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการซ่อม เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของช่างอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถเคลื่อนย้ายโต๊ะได้สะดวก
๕. วัตถุประสงค์
๕.๑ เพื่อสร้างโต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR
๕.๒ เพื่อหาประสิทธิภาพของผู้ใช้โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR ที่ใช้งานได้มีคุณภาพ
๕.๓ เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR
๖. เป้าหมาย
๖.๑ เชิงปริมาณ
ได้โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR ๑ เครื่อง
๖.๒ เชิงคุณภาพ
ได้โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR ที่มีอุปกรณ์ช่วยในการดูดจับและกรองควันจากการบัดกรี มีแหล่งจ่ายไฟ Power supply มีเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการซ่อม เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของช่างอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถเคลื่อนย้ายโต๊ะได้สะดวก
รายการ
|
เดือน ต.ค.
|
เดือน
พ.ย.
|
เดือน
ธ.ค.
|
เดือน
ม.ค.
|
||||||||||||
๓
|
๔
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
|
๑. วางแผนโครงการ | ||||||||||||||||
๒. เสนอโครงการ
|
||||||||||||||||
๓. ขออนุมัติโครงการ | ||||||||||||||||
๔. ดำเนินการ | ||||||||||||||||
๕. นำเสนอโครงการ | ||||||||||||||||
๖. ประเมินผล | ||||||||||||||||
๗. สรุปและรายงานผล |
๗. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
๗.๑ ระยะเวลา วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ถึง วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐
๗.๒ สถานที่ดำเนินการ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ
รายการ | เดือนต.ค. | เดือน พ.ย. | เดือน ธ.ค. | เดือน ม.ค. | ||||||||||||
๓ | ๔ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๑ | ๒ | ๓ | ๔ | ๕ | |
๑. วางแผนโครงการ | ||||||||||||||||
๒. เสนอโครงการ | ||||||||||||||||
๓. ขออนุมัติโครงการ | ||||||||||||||||
๔. ดำเนินการ | ||||||||||||||||
๕. นำเสนอโครงการ | ||||||||||||||||
๖. ประเมินผล | ||||||||||||||||
๗. สรุปและรายงานผล |
๘. งบประมาณและทรัพยากร
๘.๑ งบประมาณ ๓,๐๐๐ บาท
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน |
๑. โต๊ะ | ๑ ตัว | ๘๐๐ บาท |
๒. พัดลมดูดอากาศ | ๒ ตัว | ๗๕๐ บาท |
๓. Filter กรองอากาศ | ๒ แผ่น | ๑๕๐ บาท |
๔. หม้อแปลง | ๑ ตัว | ๕๐๐ บาท |
๕. ไม้อัด | ๑ แผ่น | ๓๕๐ บาท |
๖. ค่าอุปกรณ์ในการทำวงจร |
-
|
๔๕๐ บาท |
รวมทั้งสิ้น | ๗ | ๓,๐๐๐ บาท |
๘.๒ ทรัพยากร
๘.๒.๑ หัวแร้ง
๘.๒.๒ ตะกั่วบัดกรี
๘.๒.๓ ตู้สำหรับเชื่อมโครงสร้าง
๘.๓ โปรแกรมที่ใช้
๘.๓.๑ โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
๘.๓.๒ Google Skethup
๘.๓.๓ Arduino 1.6.7
๙. วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน
๙.๑ ประชุมวางแผน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การทำโครงการ
๙.๒ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ และดำเนินการทำชิ้นงาน
๙.๓ ทดลองแก้ไขและประเมินโครงการ
๙.๔ จัดหาเอกสารประกอบโครงการ
๑๐. การติดตามประเมินผล
นำเสนอผลความก้าวหน้าของโครงการ แก่อาจารย์ผู้ควบคุมทุก ๆ สัปดาห์ ในวันจันทร์
เวลา ๑๖.๓๐ น.
๑๑. ปัญหาอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
- ไม่มี
๑๒. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๒.๑ สุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน มีความเสี่ยงลดน้อยลง
๑๒.๒ ความรวดเร็วในการทำงาน และการปฏิบัติในการประกอบวงจรมีจำนวนมากขึ้น เมื่อเทียบกับเวลาที่ไม่มีโต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR
๑๒.๓ มีความสะดวก สบายในการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงาน
๑๓. ขอบเขตของโครงการ
โต๊ะปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Sensor PIR มีขอบเขตดังนี้
๑๓.๑ มี Power supply 0 – 30 V
๑๓.๒ ดูดกำจัดควันตะกั่วบัดกรี
๑๓.๓ ทำงานได้ ๒ ระบบ คือ ระบบ Manual และระบบ Auto ด้วย Senser PIR
๑๓.๔ มีเครื่องมือในการปฏิบัติงานเบื้องต้น
๑๓.๕ โต๊ะปฏิบัติงานมีขนาด (กว้าง x ยาว x สูง) = ๑๐๐ ซม. X ๑๒๐ ซม. X ๑๐๐ ซม.
ภาพที่ ๑ แสดงรูปร่างหน้าตาของเครื่องด้านหน้า
ภาพที่ ๒ แสดงรูปร่างหน้าตาของเครื่องด้านล่าง
ภาพที่ ๓ แสดงรูปร่างหน้าตาของเครื่องด้านหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น